วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Google Drive และ Cloud Computing



   Google Drive

การนำข้อมูลลงไปจัดเก็บใน Google Drive นั้นทำได้หลายวิธีมาก
    • เข้าผ่าน Web Browser แล้วเข้าไปที่ Gmail.com แล้วกดไปที่ Documents หรือว่า Drive Menu
    • เข้าผ่าน Windows Explorer โดยไปที่ Folder ของ Google Drive ซึ่งก่อนจะเข้าด้วยวิธีนี้ได้จำเป็นที่จะต้อง Download โปรแกรม Google Drive ที่ติดตั้งไว้บนเครื่องก่อนครับ รองรับได้ทั้ง Windows และ Mac OSX
    • เข้าผ่าน Mobile Device ประเภท iPhone, iPad หรือ Android (ไม่รองรับบน Blackberry) 
    •  
      Google Drive จะช่วยสร้างประโยชน์เพิ่มเติมให้กับผู้ใช้นอกเหนือจากการที่แนะนำไปในตอนต้นนั้นคือ
       
                   ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำเข้าไปไว้ใน Google Drive นั้น เราสามารถแชร์ (Share) ให้ผู้ใช้คนอื่น เช่น ทีมงาน เพื่อน ครอบครัว มาเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ และ ทำงานไปพร้อมๆ กันเวลาเดียวกันได้ (แก้ไขเอกสารไปพร้อมๆกันเวลาเดียวกัน)
      ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำเข้าไปไว้ใน Google Drive นั้น เราสามารถค้นหาข้อมูลได้เต็มรูปแบบ (Full Text Search) หมาย ความว่า เราสามารถค้นหา สิ่งที่อยู่ในเนื้อภายในไฟล์นั้นด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งความสามารถทางด้านการ Search นั้น ต้องยกให้ Google เขาอยู่แล้ว ว่าทำได้ดี และ ทำได้เร็วมาก ไฟล์ใหม่ๆ ที่เราเพิ่งจะนำเข้า Google Drive นั้น ใน เวลาไม่นาน เราก็สามารถ Search ได้ทันที
                  หากอ่านถึงจุดนี้แล้ว เพื่อไม่ให้ Blog ชิ้นนี้ยาวเกินไป จนชวนง่วง :ผมเลยให้ความเห็นส่วนตัวว่า Google Drive นั้นมาเหนือกว่า ผู้ให้บริการรายอื่นๆ จริงๆ โดยเฉพาะในส่วนของการรองรับการทำ Full Text Search ที่สามารถ Search เข้าไปในตัวเอกสารได้  นั่นหมายความว่า ถ้าเราเก็บเอกสารทั้งหมดของเราไว้ใน Google Drive  เราจะหามันได้ง่ายมากเลย  และเราสามารถเข้าถึงไฟล์นั้น ได้จากทุกอุปกรณ์ ความสามารถ ณ จุดนี้

               สำหรับองค์กรธุรกิจ Google Drive นั้นทาง Google จะเปิดบริการนี้ให้กับลูกค้าองค์กรของ Google ด้วยเช่นกัน (Google มีระบบ Email ที่เอาไว้ให้ ลูกค้าองค์กรใช้ด้วยนะครับ ชื่อว่า Google Apps for Business  เป็นอีกหนึ่งบริการของ Google ที่จะทำให้ลูกค้าที่เป็นกลุ่มธุรกิจหรือบริษัท นั้น สามารถใช้  Email ของบริษัท โดยมี Features ความสามารถต่างๆ เหมือน Gmail.com ทุกประการ แต่ว่ายังคงใช้ Domain Name เดิม เช่น  @yourcompany.com เป็นต้น)

        Cloud Computin

               Cloud Computing คือ เทคโนโลยีของระบบประมวลผลรูปแบบใหม่ ที่เปลี่ยนมุมมองของผู้ใช้ให้เป็นไปในมุมมองในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้ทรัพยากรสาธารณูปโภคที่มีผู้ให้บริการ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์องค์กรสามารถ Cloud Technology ในลักษณะคล้ายๆ กับการใช้บริการ โดยเสียค่าบริการเป็น Pay per use จ่ายเท่าที่ใช้หรือจะใช้ประจำทุกเดือน คล้ายๆ เสียค่าสมาชิกรายเดือนของเคเบิล TV ก็ตามแต่ความต้องการในการใช้งาน โดยในปัจจุบัน องค์กรสามารถใช้ Cloud Technology ได้ 2-3 รูปแบบ
 
          รูปแบบที่ 1 (Software as a Service, SaaS): จากรูปด้านล่างผู้ใช้สามารถเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและข้อมูลองค์กรได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Business Software บน Cloud Technologyได้ทันที เช่น ใช้ Email Application, ระบบ File Sharing/Content Management,
         รูปแบบที่ 2 (Infrastructure as a Service, IaaS): สะดวก ยืดหยุ่น และ ง่ายต่อการบริหารทรัพยากร IT ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ Virtual Server/ Virtual Machine บน Cloud Technology ได้ทันที ยกตัวอย่างเช่น หากต้องการเครื่อง Server ที่มี 4 CPUs, 32GB Memory, 10TB Storage สามารถเรียกขึ้นมาใช้ได้ทันที จาก Cloud Technology เช่นเดียวกันกับรูปแบบที่ 1


            จากรูปแบบการใช้ Cloud Technology ในแบบที่ 1 (SaaS) และ แบบที่ 2 (IaaS) จะพบว่า ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้ทั้ง Business Software และ/หรือ Virtual Servers และ/หรือ Virtual Desktop จาก Cloud ได้ทันทีทันใด ไม่ต้องรอ
ขั้นตอนหรือกระบวนการต่างๆที่จะใช้ระยะเวลายาวนานเหมือนสมัยก่อนในอดีตก่อนหน้าที่จะมี Cloud Technology ที่จะต้องทำการ จัดซื้อ/จัดจ้าง อุปกรณ์ Hardware, Software ต่างๆ ใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ถึงจะสามารถใช้งานได้ นี่คือข้อแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในเรื่องของความรวดเร็วในการได้ Information Technology (IT) มาใช้งาน ซึ่งจุดเด่นของรูปแบบการใช้ Cloud Technology ในลักษณะนี้นี่เองที่จะทำให้ธุรกิจสามารถขยับขยาย หรือ ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น รวดเร็วมากขึ้น (หรือที่เรียกว่า Business Agility)
   ซึ่งถ้าหากพิจารณาเปรียบเทียบในเชิงต้นทุนเพื่อที่จะลงทุนว่า จะใช้ Cloud Technology หรือจะใช้แบบดั้งเดิม (Non-Cloud) นั้น ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดสามารถจำแนกออกเป็นประเด็นต่างๆ ได้ดังนี้

1.     (Cloud) "Pay as you grow"  VS  (Non-Cloud) "Pay Upfront investment"
2.      (Cloud) ไม่มีต้นทุนในเชิง Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่าย VS (Non-Cloud) มีต้นทุน Maintenance Service ที่องค์กรธุรกิจต้องจ่ายทุกปี หรือ ทุก 3-5 ปี

             นอกจากนี้ยังมี Cloud Technology อื่นๆ อีกมากมาย ที่ให้บริการ Business Application ทำนองนี้ เช่น Salesforce.com หรือ Amazon Web Services หรือ ที่อื่นๆ ซึ่งจุดประสงค์ของ Cloud Technology ถูกสร้างขึ้นเพื่อที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจ ลดการเสียเวลาหรือเสียค่าใช้จ่ายที่จะต้องบริหารจัดการ IT Infrastructure ด้วยตนเอง ให้ไปเน้นการทำธุรกิจขององค์กรแทนที่จะเน้นการบริหารจัดการ IT Infrastructure ในองค์กร ซึ่งมีต้นทุนในการบริหารจัดการสูงกว่าการ Outsourcing ไปใช้บริการ Public Cloud Service อย่างแน่นอน